ก่อนที่จะมาดู แบบบ้านชั้นเดียว ผมขอเกริ่นก่อนว่าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่วางแผนจะสร้างแล้วละก็ อันดับแรกเลยคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่ารูปแบบบ้านมีกี่ประเภท และแบบไหนที่เหมาะกับคุณและสมาชิกในครอบครัว
เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น วันนี้ผมจะขอพูดถึงบ้านชั้นเดียว ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เรามาดูกันดีกว่าว่าบ้านชั้นเดียวมีดีอย่างไร โดยผมได้รวบรวมข้อมูลไว้ให้คุณได้พิจารณาแล้ว
ในยุคปัจจุบันบ้านชั้นเดียว มีให้เลือกอย่างหลากหลาย และได้รับความสนใจรวมถึงความนิยมอย่างแพร่หลาย
บ้านชั้นเดียวดีอย่างไร? ด้วยลักษณะนี้ปลูกสร้างง่าย ใช้วัสดุในการก่อสร้างไม่เยอะ และระยะเวลาในการก่อสร้างก็ไม่นาน สามารถลดงบประมาณในการสร้างบ้านลงได้ อย่างไรก็ตามบ้านชั้นเดียวนั้น ยังสะดวกสบายต่อการอยู่อาศัย
สามารถดีไซน์และจัดวางให้เชื่อมโยงกันในแต่ละมุมห้องได้อย่างลงตัว ที่สำคัญผู้สูงอายุชอบ เพราะในยามที่คนเราเริ่มมีอายุมากขึ้น ปัญหาเรื่องสุขภาพจะตามมาเป็นของคู่กัน
และปัญหาเรื่องข้อเข่าก็คือหนึ่งในปัญหายอดฮิตซึ่งทำให้การเดินขึ้น – ลงบันไดลำบาก ดังนั้นแบบบ้านชั้นเดียวจะทำให้ผู้ใหญ่ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกมากขึ้นครับ
ตัวอย่างแบบบ้านชั้นเดียว
ขณะเดียวกันก็ยังง่ายต่อการทำความสะอาด ถือได้ว่าบ้านชั้นเดียวเพียงหนึ่งหลังตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้อย่างครบครัน และในวันนี้ บ้านไทยโฮมโกลด์ มีความยินดีที่จะนำเสนอแบบบ้านชั้นเดียวหลากหลายดีไซน์เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อยู่อาศัยได้นำไปปรับใช้ และต่อยอดการออกแบบในการปลูกสร้างบ้านในแบบฉบับของคุณต่อไป
เรียกย่อๆได้ว่า “โครงสร้าง ค.ส.ล.” ( ระบบหล่อในที่ ) ซึ่งถือเป็นที่นิยมมานาน ด้วยวัสดุที่ในการก่อสร้างหาซื้อได้ง่ายโดยมีร้านค้าเกี่ยวกับก่อสร้างเกิดขึ้นเยอะและมีหลายสาขา เช่น โกลบอลเฮ้าส์ และมีราคาถูกกว่าการโครงสร้างแบบอื่นๆ มีส่วนประกอบหลักคือ
และเสริมด้วยเหล็กเข้าไป เพราะคอนกรีตมีคุณสมบัติในการรับแรงอัดได้ดี แต่รับแรงดึงได้ค่อนข้างต่ำมาก จึงจำเป็นต้องเสริมเหล็กเข้าไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติแรงดึง ทำให้รับแรงของวัสดุโดยรวมได้มากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันโครงสร้างคอนกรีตผสมเหล็กถูกพัฒนามาต่อเนื่อง ทำให้คุณภาพได้มาตราฐานดีกว่าเมื่อก่อน สามารถหล่อขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีส่วนที่ต้องใช้ความชำนาญและความละเอียดรอบคอบของช่าง ทั้งในขั้นตอน เทคอนกรีต การบ่มคอนกรีต จนไปถึงการผูกเหล็กและทาบเหล็ก เพื่อให้คอนกรีตแข็งแรงเต็มประสิทธิภาพ
บ้านหลังนี้มีชื่อว่า ” เพชรบูรพา “ ผลงานการออกแบบของ บ้านไทยโฮมโกลด์ โดยบ้านหลังนี้จะเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความทันสมัย หลังคาทรงปันหยาที่โดดเด่นในเรื่องการให้ร่มเงา ระบายอากาศ และเพิ่มความโปร่ง โล่งสบายให้กับภายใน
รวมทั้งโทนสีที่ดูอบอุ่นและเป็นธรรมชาติ เช่น โทนสีครีม สีน้ำตาลและสีเหลืองอ่อน ตลอดจนการตกแต่งประตูและหน้าต่างด้วยบานกระจกใส ซึ่งสามารถเปิดรับแสงจากภายนอกได้อย่างเป็นอย่างดี
ด้านรายละเอียดสำหรับบ้านชั้นเดียวหลังนี้มีขนาดหน้ากว้าง 10.5 เมตร ลึก 7.5 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวมอยู่ที่ 125.50 ตร.ม ในส่วนของการก่อสร้างนั้นจะใช้เป็นระบบหล่อในที่ เพื่อลดปัญหาการแตกร้าว และรั่วซึมของตัวผนัง ด้านหน้าของบ้านนั้นใช้วัสดุปูไม้เฌอร่าตกแต่ง
และยังมีห้องครัว ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร อย่างละ 1 ห้อง
ไม่เพียงเท่านั้นตรงส่วนของครัวยังมีประตูเปิดออกไปด้านหลังบ้านเพื่อทำเป็นที่ซักล้างได้อีกด้วย พร้อมด้วยการเทพื้นปูนขัดหยาบรอบตัวบ้าน (ยื่นออกจากตัวบ้าน 1 เมตร) ซึ่งฟังก์ชั่นครบครั่นมากๆและใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า
สำหรับบ้านชั้นเดียวหลังที่สองนี้มีชื่อว่า ” The Proud 04 “ มุ่งเน้นการออกแบบในสไตล์ร่วมสมัย ด้วยการนำเอาดีไซน์หลังคาแบบทรงจั่วมาผนวกใช้กับตัวบ้านในรูปทรงสี่เหลี่ยม
ไม่เพียงเท่านั้นยังเลือกใช้เฉดสีเทาและน้ำตาลมาตกแต่งทำให้ภาพรวมของบ้านดูเรียบหรู ให้ความเป็นโมเดิร์น และส่วนนอกของบ้านเลือกใช้วัสดุไม้เทียมทำให้บ้านดูมีมิติและมีความเป็นธรรมชาติขึ้น
สำหรับบ้านหลังนี้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ที่มีพื้นที่ดินลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า หรือมีหน้าที่ดินค่อนข้างแคบ โดยมีหน้ากว้างอยู่ที่ 10 เมตร ลึก 14 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 124 ตารางเมตร
อีกทั้งยังมี ห้องครัว และห้องรับแขก อย่างละ 1 ห้อง
สำหรับภายในมุ่งเน้นการวางผังบ้านและตกแต่งภายในให้ห้องเกิดการเชื่อมโยงในการใช้สอยได้อย่างสะดวกสบาย ในลักษณะแนวยาว
ตัวอย่างหลังที่สามมีชื่อว่า ” The Proud 05 “ เป็นบ้านชั้นเดียวที่ปลูกสร้างโดยเน้นความเป็นโมเดิร์นด้วยรูปทรงเรขาคณิต ทั้งจากทรงหลังคาและตัวบ้านรูปทรงสี่เหลี่ยม พร้อมกับตกแต่งด้วยระแนงไม้เทียม และกรอบหน้าต่างเพื่อสร้างความโดดเด่นและดูมีมิติ
ที่สำคัญลดความแข็งกระด้างของคอนกรีตได้เป็นอย่างดี สำหรับโทนสีที่นำมาใช้มุ่งเน้นเฉดสีโทนสว่าง รวมทั้งสีเนื้อวัสดุทั้งจากคอนกรีตและไม้ โดยทั้งหมดดีไซน์ออกมาได้อย่างกลมกลืน ลงตัวและทันสมัย แสดงออกถึงการออกแบบและตกแต่งบ้านสไตล์โมเดิร์นได้อย่างเด่นชัด
สำหรับแปลนจัดวางจะเป็นลักษณะแนวนอน ความกว้าง 9 เมตร ลึก 10 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 139 ตารางเมตร
และมุมจำเป็นต่างๆ อย่าง ครัว ห้องรับประทานอาหาร ห้องรับแขก อย่างละ 1 ห้อง
ส่วนนอกด้านข้างจะเป็นที่จอดรถ ส่วนหลังที่ติดกับที่จอดรถและห้องครัวจะเป็นลานซักล้าง
แบบบ้านหลังที่สี่ชื่อว่า ” เพชรบูรพา “ นี้มุ่งเน้นการออกแบบที่เรียบหรู ดูทันสมัย ด้านเฉดสีที่นำมาใช้เลือกใช้โทนสีอ่อน อาทิ ครีม น้ำตาล และเทา ภาพรวมส่วนนอกดูโปร่ง โล่ง สบาย เพราะผนังในทุกด้านออกแบบและตกแต่งเป็นหน้าต่างในทุกจุด สำหรับหลังคาเลือกทรงปันหยาในการชูความโดดเด่นในเรื่องความสวยงาม
สำหรับแปลนบ้านออกแบบในรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายตัว L โดยหน้ากว้าง 12 เมตร ลึก 8 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 129 ตารางเมตร เป็นสัดส่วน กั้นห้องแยกโซนกันอย่างชัดเจน ซึ่งภายในจะมีห้องรับแขกเป็นจุดศูนย์กลางของบ้าน เชื่อมโยงห้องต่างๆได้อย่างลงตัว
ทั้งนี้ส่วนหน้าของบ้านจะใช้ประตูบานสไลด์คู่ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเดิน และทำให้บ้านดูโปร่ง
แบบบ้านหลังที่ 5 นี้มีชื่อว่า ” เพชรโชคชัย “ ออกแบบอย่างสวยงาม เน้นความเรียบง่ายผสมผสานกับการนำเอาความเป็นโมเดิร์น นอกจากการออกแบบที่สวยงามแล้ว การเลือกใช้สีก็ทำให้ตัวบ้านดูโดดเด่นไม่โล้น
ส่วนตัวผนังก็เลือกใช้ไม้เฌอร่าในการตกแต่ง ซึ่งสามารถเพิ่มกลิ่นอายความเป็นธรรมชาติได้อย่างลงตัว สำหรับผนังส่วนอื่นออกแบบและตกแต่งเป็นประตูและหน้าต่างด้วยบานกระจกใส
สำหรับแปลนบ้านหลังนี้จัดผังให้ออกมาในลักษณะคล้ายๆตัว U คว่ำ ซึ่งทำให้ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าทุกตารางเมตร ครบครันไปด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ
ภาพรวมภายนอกหลังคาทรงหน้าจั่ว เป็นรูปแบบทรงหลังคาที่ได้รับความนิยมในบ้านเรามาเนิ่นนาน เนื่องจากข้อดีของมันที่ช่วยให้น้ำฝนไหลลาดลงจากหลังคาได้อย่างรวดเร็ว และพบปัญหารั่วซึมน้อยมาก
เราจึงได้เห็นบ้านที่สร้างด้วยหลังคาทรงหน้าจั่วมาตั้งแต่อดีต และจวบจนถึงปัจจุบันนี้ บ้านทรงหน้าจั่ว ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
อีกหนึ่งวัสดุที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างไม้ สู่โครงสร้างคอนกรีต จนมาถึงบ้านโครงสร้างเหล็ก ปัจจุบันวัสดุที่นิยมเลือกปลูกสร้างโครงสร้างบ้านก็จะเป็น บ้านโครงสร้างเหล็ก และคอนกรีต
ส่วนโครงสร้างไม้ไม่เป็นนิยมด้วยปัจจัยในเรื่องความแข็งแรงและการเสื่อมสภาพ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ” 12 เรื่องที่ควรรู้ ก่อนซื้อบ้านน็อคดาวน์ “
ตัวอย่างผลงานการสร้างบ้าน บ้านโครงสร้างเหล็ก
ตัวอย่างบ้านโครงสร้างเหล็กหลังที่ 1 มีชื่อว่า ” เพชรงาม ” เป็นบ้านชั้นเดียวที่การตกแต่งภายนอกเลือกใช้โทนสีเทาเป็นหลัก ส่วนผนังบริเวณหน้าต่างจะตกแต่งด้วยไม้เทียมรับกับผนังสีเทา มุงหลังคากระเบื้องทรงปั้นหยาสีน้ำเงิน เพื่อให้ตัดกับสีของตัวบ้านสี
บริเวณที่จอดรถตกแต่งผนังเป็นสีน้ำเงินซึ่งเข้ากับตัวบ้านมาก หน้าบ้านเลือกใช้ประตูกระจกใสบานใหญ่ เพื่อช่วยในการระบายแสงแดดจากธรรมชาติเข้าสู่ตัวบ้าน พร้อมทั้งเปิดให้เห็นบรรยากาศนอกบ้านได้ชัดเจนมากขึ้น
สำหรับแปลนจัดวางจะเป็นลักษณะแนวนอน ความกว้าง 10 เมตร ลึก 7 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 118 ตารางเมตร
ส่วนนอกด้านข้างจะเป็นที่จอดรถ ขนาด 3 * 5 เมตร พร้อมทั้งเทพื้นปูนขัดหยาบให้รอบตัวบ้านด้านละ 1เมตร
ตัวอย่างบ้านโครงสร้างเหล็กหลังที่ 2 มีชื่อว่า ” เพชรชมพู ” บ้านหลังนี้มีลักษณะเป็นบ้านยกพื้น ไม่เน้นส่วนเว้าส่วนโค้งเพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเยอะที่สุด ตัวผนังแต่งแต้มด้วยสีเทาอ่อน ตัดกับสีน้ำตาลอ่อน เล่นลวดลายบัวด้วยสีน้ำตาลเข้ม ปกคลุมด้วยหลังคามุงกระเบื้องทรงมะนิลา ให้ดีไซน์แบบร่วมสมัย
ในส่วนของแบบแปลน นั้นจะมีให้เลือก 2 Type เริ่มจากทางฝั่งซ้ายมือ
โดยขนาดแปลนจะมีหน้ากว้างที่ 12 เมตร ลึก 6 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 110 ตารางเมตร
ตัวอย่างบ้านเหล็กหลังที่ 3 นี้มีชื่อว่า ” ทองพันช่าง “ ด้วยรูปทรงที่ให้กลิ่นอายแบบบ้านไทยสมัยก่อน แถมยังมีความสวยงามของหลังคาทรงจั่ว รวมถึงการเลือกใช้สีในแต่ละส่วน ทำให้ตัวบ้านดูมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร สามารถก่อสร้างได้ทั้งในเมืองและในต่างจังหวัด
สำหรับแปลนจัดวางจะเป็นบ้านหน้ากว้าง ความกว้าง 10 เมตร ลึก 8 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 93 ตารางเมตร
โดยตัวบ้านจะยกสูง 60 เซนติมเตร และด้านนอกจะมีระเบียง ขนาด 2 * 2.5 เมตร สามารถนั่งพักผ่อนได้
ลักษณะตัวบ้านชั้นเดียวหลังที่ 4 นี้มีชื่อว่า ” ทองบวก “ ทรงจั่วและมีหลังคาประดับ ผนังภายนอกทาด้วยสีเทา ตัดกับหลังคาสีน้ำตาลได้อย่างลงตัว โดดเด่นด้วยการออกแบบหน้าจั่วถึงสองจุด ด้านหน้าทางเข้าบ้านมีระเบียงขนาดเล็ก เป็นที่นั่งพักผ่อนสุดชิลล์ เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดเล็ก
ชมภายนอกกันไปแล้ว มาดูการวางแปลนภายในกัน เมื่อเดินผ่านเฉลียงเข้ามาถายในจะพบกับโถงนั่งเล่นที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังห้องต่างๆ โดยมีห้องนอน Master อยู่ที่ด้านซ้ายของบ้าน
สำหรับแปลนจัดวางจะเป็นบ้านหน้ากว้าง ความกว้าง 11 เมตร ลึก 6 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 76 ตารางเมตร
หลังคาทรงหน้าจั่ว เป็นรูปแบบทรงหลังคาเนื่องจากข้อดีของมันที่ช่วยให้น้ำฝนไหลลาดลงจากหลังคาได้อย่างรวดเร็ว ด้านปะทะลมของหลังคาจั่วนั้นออกแบบมาเพื่อให้อากาศเย็นจากภายนอกสามารถเข้ามาช่วยระบายอากาศร้อนภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาถึงบ้านโครงสร้างเหล็กหลังสุดท้ายกันแล้ว มีชื่อว่า ” ทองเอก “ สไตล์ร่วมสมัยที่ผสมผสานรูปแบบหลังคาสองสไตล์ได้อย่างลงตัว ให้อารมณ์ที่แตกต่างและดูเป็นเอกลักษณ์ ผนังภายนอกคุมด้วยโทนสีน้ำตาล เสริมลูกเล่นตัดด้วยสีขาวบริเวณหน้าต่างและประตู ทางเข้าบ้านมีชานเล็กๆ คอยต้อนรับอยู่ ขนาบข้างประตูด้วยระเบียง
มาดูการวางแปลนภายในกัน การออกแบบมีความเป็นสัดส่วน และมีความหลากหลายในพื้นที่การใช้งาน เมื่อเดินเข้ามาภายในบ้านจะพบกับห้องนั่งเล่น เป็นโซนสาธารณะเอาไว้นั่งพูดคุยสนทนา เหมาะที่จะจัดโซฟาในจุดนี้ ถัดเข้าไปอีกห้องจะเป็นห้องครัวและห้องน้ำ ส่วนทางด้านซ้ายจะเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัวสำหรับสมาชิกในครอบครัว
สำหรับแปลนจัดวางจะเป็นบ้านหน้ากว้าง ความกว้าง 9 เมตร ลึก 9 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 75 ตารางเมตร
หลังคาทรงมนิลามีความแข็งแรง รับได้กับทุกสภาวะอากาศ รวมถึงระบายอากาศได้ดี เรียกว่าเป็นหลังคาที่ออกแบบมาเพื่อบ้านที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นจริงๆ
หากผู้อยู่อาศัยท่านใดชอบแบบบ้านชั้นเดียวข้างต้น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ” รับสร้างบ้าน “
ผู้ออกแบบหรือพวกสถาปนิกนั้นจะเจอคำถามเรื่องของความคุ้มค่าและความปลอดภัย การสร้างบ้านนั้นสิ่งที่สำคัญคือขนาดพื้นที่ในเชิงปริมาณการใช้สอย และในเชิงราคาค่างวด จะเห็นได้ว่าการสร้างบ้านชั้นเดียวในพื้นที่ที่มีราคาแพง ย่อมไม่คุ้มต่อเนื้อที่ใช้สอยที่เกิดขึ้น
แต่ในทางกลับกันการสร้างบ้านชั้นเดียวบนพื้นที่โล่งกว้างชานเมืองหรือชนบท ก็อาจมีความเหมาะสมในเรื่องความคุ้มค่าของราคาที่ดินที่ราคาไม่แพงเหมือนในเมือง
บ้านชั้นเดียวนั้นจะให้บรรยากาศและการใช้สอย ที่แตกต่างจากบ้านหลายชั้น ทั้งในเชิงของพื้นที่ภายในและพื้นที่ภายนอก ในแง่ของบรรยากาศและความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น ความอบอุ่น ความเป็นกันเอง ความใกล้ชิด แต่ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของบ้านชั้นเดียวนั้นด้วย
มีผลโดยตรงต่อบ้านชั้นเดียว แต่ด้วยเทคโนโลยีและวัสดุก่อสร้าง ในเรื่องของกันความร้อนในปัจจุบันพัฒนาขึ้นมาก ทำให้แก้ปัญหาเรื่องความร้อนได้ ส่วนการวางผังอาคารให้รับลม ก็มีส่วนช่วยได้มากซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้สำหรับการออกแบบ เพราะจะช่วยในเรื่องของการลดใช้พลังงานภายในตัวบ้านได้เป็นอย่างดี
การสะท้อนความร้อนจากพื้นหรือถนนภายในบริเวณที่ดินเข้าสู่ตัวบ้าน สำหรับบ้านชั้นเดียวจะได้รับผลกระทบมากหน่อย เพราะไม่มีชั้นบนสำหรับหลบเลี่ยง ดังนั้น ควรออกแบบหลังคาให้คลุมบริเวณลาน เฉลียง ระเบียง และการออกแบบผนังห้องให้ไม่รับแสงหรือสามารถกันแสงสะท้อนได้โดยตรง
นอกจากในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย การกำหนดแปลนห้องต่างๆจะต้องคิดอย่างละเอียด เพราะบริเวณและห้องทุกห้องอยู่ในชั้นเดียวกัน เราจะต้องเชื่อมแต่ละจุดเข้าด้วยกัน เช่น การขนของเข้าสู่ครัวได้สะดวก แขกหรือเพื่อนควรเข้าห้องรับแขกได้ง่าย และมีสัดส่วน
บริเวณส่วนกลางก็ควรกว้างขวางพอเพียง และไปยังส่วนต่างๆ ของบ้านได้ง่าย ส่วนของห้องนอน ซึ่งถือว่าเป็นบริเวณส่วนตัว ตำแหน่งก็มักจะอยู่ด้านในสุดของตัวบ้าน หรือในบริเวณที่เห็นได้ยากจากบริเวณรับแขก
แน่นอนว่าคุณสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้มาก เนื่องด้วยบ้านเพียงแค่ชั้นเดียวมีวางโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ใช้วัสดุน้อยกว่าบ้านหลายชั้นเกือบเท่าตัวบ้านที่มีหลายชั้นก็จะมีค่าตกแต่งเพิ่มขึ้น ทั้งค่าสี วอลเปเปอร์ หรือผ้าม่าน ซึ่งการเลือกบ้านชั้นเดียวจะทำให้คุณประหยัดส่วนนี้ไปได้มาก
เนื่องด้วยบ้านชั้นเดียวนั้นทุกห้องอยู่ชั้นเดียวกันหมด ไม่ว่าจะเป็น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องครัว เป็นต้น จึงทำให้การเดินไปไหนมาไหนภายในบ้านเกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องคอยขึ้นลงบันไดบ่อยๆ
ถ้าไม่ทันระวังจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หรือการขึ้นลงบันไดเป็นประจำ อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องสุขภาพข้อเข่า
หากคุณมีบ้านหลังใหญ่หลายชั้น การทำความสะอาดจึงเป็นเรื่องยากลำบาก และคุณจะต้องใช้เวลาทำความสะอาดนานพอสมควร แต่ถ้าเป็นบ้านชั้นเดียว การทำความสะอาดง่ายมาก เพราะไม่ต้องคอยยกของขึ้นลง ปัดกวาดถูแป๊บเดียวก็เสร็จ ทำคนเดียวก็ยังได้
หากจะต้องปรับปรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นทาสี ทำความสะอาดผนังภายนอก หรือการเปลี่ยนหลังคา ก็ทำได้ง่าย และก็ไม่ต้องกังวลเรื่องอุบัติเหตุตกจากที่สูง
ถ้าครอบครัวของคุณมีผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หรือผู้พิการ การเดินขึ้น – ลงบันได นั้นอาจจะทำให้มีปัญหาเรื่องความไม่สะดวก โดยเฉพาะกับผู้สูงวัย ผู้ป่วยที่ต้องใช้วีลแชร์เคลื่อนที่ไปยังห้องต่างๆ ภายในบ้าน
ส่วนเด็กเล็กนั้นเป็นวัยที่กำลังซุกซน หากคุณเผลอไม่ทันระวัง เด็กอาจจะปีนป่ายบันไดทำให้ตกลงมาได้รับบาดเจ็บได้
สิ่งที่สัมผัสได้ชัดเจนของครอบครัวที่อยู่บ้าน 2 ชั้นขึ้นไป คือ คนในบ้านไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กัน สาเหตุนั้นมาจากต่างคนต่างต้องการความเป็นส่วนตัว ใช้ชีวิตอยู่แต่ในห้อง จะเห็นกันก็ตอนกินข้าว
ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นกับครอบครัวที่มีบ้านชั้นเดียว จะเดินไปหยิบอะไรก็ทำได้ง่าย แถมเจอหน้ากันบ่อยๆ ถ้าคุณออกแบบให้มีพื้นที่ใช้สอยบริเวณกลางบ้าน ก็จะทำให้สมาชิกในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันได้สะดวก และทำให้คนในบ้านมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นด้วย
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องขยายห้อง คุณสามารถต่อเติมได้ด้วยการขยายห้องจากด้านข้างของบ้าน เนื่องด้วยโครงสร้างของบ้านชั้นเดียว มีความเหมาะสมที่จะทำการต่อเติมมากกว่าบ้านสองชั้นที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่า
แต่หากคุณจะเปลี่ยนบ้านชั้นเดียวให้กลายเป็นบ้านสองชั้น น่าจะเป็นเรื่องยากอยู่สักหน่อย
สำหรับแบบบ้านชั้นเดียว เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบบรรยากาศของความอบอุ่น เนื่องด้วยลักษณะบ้านที่มีห้องอยู่รวมกันในชั้นเดียว ทำให้คนในบ้านพบปะกันได้สะดวก ซึ่งรวมไปถึงผู้ป่วยที่ใช้วีลแชร์ด้วย หรือผู้สูงอายุด้วย เพราะเขายังเดินไปยังห้องต่างๆ ได้เองโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการขึ้นลงบันได